ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 8 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน |
[admin]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : รายงานการพัฒนาแบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เจ้าของผลงาน : นางสาวอนัญญา ขาววก
อังคาร ที่ 23 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560
เข้าชม : 799 จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสาวอนัญญา ขาววก
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศาราม สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี
อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศาราม สังกัดกองการศึกษาเทศบาล เมืองปัตตานี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนผู้เรียน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ แบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึก ชุด หัดอ่าน หัดเขียน เรียนง่ายสำหรับเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าทางสถิติได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติการทดสอบค่า t-test แบบ Independent
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|