ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 8 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน |
[admin]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิด ของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน
สำหรับโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
เจ้าของผลงาน : นางศันสนีย์ เผ่าจินดา
ศุกร์์ ที่ 28 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เข้าชม : 1126 จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิด ของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน
สำหรับโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ผู้วิจัย นางศันสนีย์ เผ่าจินดา
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดเทศบาลเมืองปัตตานี
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและข้อมูลพื้นฐานของการนิเทศการศึกษาและการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดของผู้บริหารในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี 4.1 ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน 4.2 ครูผู้สอนมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 223 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
จากผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการคิด ในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี
1.1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการในการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริม การคิดในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี จากการสอบถามความคิดเห็น ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการคิดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพการดำเนินงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมการคิดของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ในปัจจุบันมีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยการดำเนินงาน เรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การกำหนด เป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด การจัดทำหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ การคิด และการวัดและประเมินผลทักษะการคิด อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความต้องการในการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายองค์ประกอบ พบว่า ความต้องการในแต่ละด้านเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การวัดและประเมินผล ทักษะการคิด และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่กระตุ้นทักษะการคิด การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ การคิด การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาทักษะการคิด และการจัดทำหลักสูตรบูรณาการที่ส่งเสริมทักษะการคิด อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการศึกษาปัญหา และความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งเสริม การคิดในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) สรุปได้ดังนี้
1.2.1 ด้านการจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและ ภายนอกไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ ครูไม่ได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ นอกห้องเรียนยังมีน้อย ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่เพียงพอ สถานที่จัดเก็บ รักษาไม่เพียงพอ ครูที่ รับผิดชอบในการจัดสื่อมีน้อยเกินไป สำหรับความต้องการ ได้แก่ การปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ให้มากขึ้น พัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้ทันสมัยและส่งเสริมการใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการอบรมผลิตสื่อและ ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอื่นที่เป็นต้นแบบ
1.2.2 ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูสอนโดยยึดกรอบเนื้อหาตาม หนังสือเรียน ขาดการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ ครูไม่มีการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผลทักษะการคิด ที่เชื่อมโยงมาตรฐานภาระงานมีมาก ครูต้องทำงานอื่นนอกเหนือจากงานสอน นักเรียน บางส่วนมี เจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูเน้นการท่องจําสูตรต่าง ๆ การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเน้นเกี่ยวกับวิชาการมากเกินไป ครูขาดการนำรูปแบบการสอนมาใช้ ส่วนใหญ่ จะเน้นวิธีสอนและเทคนิคการสอน การบรรยายหรือการอภิปรายการยกตัวอย่าง สำหรับความต้องการ ได้แก่ การเพิ่มพูนประสบการณ์ของครู การจัดให้ไปศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก
1.2.3 ปัญหาด้านการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดสรร งบประมาณไม่เพียงพอ ระบบการนิเทศภายในขาดความเข้มแข็ง โรงเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบเดิม ขาดความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายการเรียนรู้ สำหรับความต้องการ ได้แก่ การพัฒนาระบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูล ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
1.2.4 ปัญหาเกี่ยวกับผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาหลักของนักเรียนยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่มาตรฐานการศึกษากำหนด ขาดทักษะในการใช้ กระบวนการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ค่อนข้างน้อย นักเรียนไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ สำหรับความต้องการ ได้แก่ การส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ครูผู้สอนนำผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และมีดำเนินการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องเป็นระบบที่ชัดเจน
2. รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน มีขั้นตอนการดำเนินงาน 6 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1.การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและกำหนดประเด็นการพัฒนา (Analyzing Needs and Deciding Focus: A)
ระยะที่ 2.การเตรียมการด้านความรูและทักษะการปฏิบัติการนิเทศ (Preparing Knowledge and Skills for Coaching: P)
ระยะที่ 3.การร่วมมือกันวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา(Collaborative Planning and Setting Objective: C)
ระยะที่ 4.การปฏิบัติการนิเทศ (Coaching: C) ซึ่งประกอบด้วย
1) ทบทวนแผนการนิเทศและสร้างความเขาใจร่วมกัน (Review Action Plan and Reflection)
2) การสังเกตการสอนในชั้นเรียนซึ่งกันและกัน (Observation)
3) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
4) การไตร่ตรองสะท้อนคิดและใหขอมูลยอนกลับ(Reflection and Feedback)
ระยะที่ 5.การทบทวนไตรตรองสะทอนคิดและสรุปผล (Reflective Reviewing and Conclusions: R)
ระยะที่ 6.การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศรวมกัน (Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation: E)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริม การคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เมืองปัตตานี พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้บริหารมีความสามารถในการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการคิดของนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองปัตตานี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|