ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 8 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน |
[admin]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ
เจ้าของผลงาน : นางซัลวานา ราชมุกดา
พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน มีนาคม พ.ศ.2560
เข้าชม : 2033 จำนวนการดาวน์โหลด : 7545 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครู
โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ
ชื่อผู้วิจัย : นางซัลวานา ราชมุกดา
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองปัตตานี
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ปีการศึกษา 2558 จำแนกเป็นครูผู้นิเทศจำนวน 10 คน ครูผู้สอนจำนวน
49 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 469 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า เอพีดีอีอาร์ไอ (APDERI Model) ประกอบด้วยหลักการ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงมีความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนของครูทุกวิชา การพัฒนาครูให้มีสมรรถภาพในการดำเนินการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงในวิชาที่สอน จะส่งผลให้ครูดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูและยกระดับคุณภาพผู้เรียน กระบวนการ นิเทศ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างเจตคติ (Attitude) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการนิเทศ (Planning) ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการนิเทศ (Doing) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating) ขั้นตอนที่ 5 การสะท้อนผลการนิเทศ (Reflection) และขั้นตอนที่ 6 การประยุกต์ใช้ (Improvement) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 1) มีวิสัยทัศน์ และความต้องการในการพัฒนาครูด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2) บริหารจัดการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กระบวนการนิเทศการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงดำเนินการไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ครูผู้สอน 1) มีเจตคติที่ดีต่อการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 2) มีความตั้งใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอนและเต็มใจที่จะนำหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงไปใช้
2) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครู พบว่า ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูก่อนและหลังการนิเทศตามรูปแบบแตกต่างกัน สมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงของครูหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอยู่ในระดับสูง ซึ่งสูงกว่าก่อนการนิเทศตามรูปแบบที่อยู่ในระดับต่ำ ความพึงพอใจของผู้นิเทศและครูต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอยู่ในระดับมากที่สุด เจตคติของครูต่อการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงก่อนและหลังการนิเทศตามรูปแบบแตกต่างกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลตามสภาพจริงของครูผู้รับการนิเทศตามรูปแบบแตกต่างกัน และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลตามสภาพจริงของครูผู้รับการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|