วัยผู้สูงอายุ เป็นวัยแห่งการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง
Balanced mind Tip
“ช่วงที่ยังทำงานอยู่ ผมเจอความกดดันหลายอย่างโดยเฉพาะความกดดันทางอารมณ์ ซึ่งเป็นผลจากความเครียดที่สะสมมาตลอด จนเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมีโรคอื่นตามมาบ้าง
“แต่เมื่อผ่านภาวะนั้นมา ผมเริ่มรู้สึกว่าเราต้องพยายามทำใจให้ว่างๆ เพราะบางทีเราไปพะวงกับเรื่องจนสามารถรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น เช่น ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน โดยไม่กินมาก ไม่กินเค็มจัดและเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษ รวมทั้งออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งผมชอบการเดินและทำสวน เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผมได้เรียนรู้สภาพจิตใจและทำสมาธิไปพร้อมกัน”
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม อายุ 76 ปี ปราชญ์ด้านการเกษตร
ฝึกคิดถึงเรื่องดีๆ
“ธรรมชาติของคนเราจะจดจำเรื่องร้ายได้มากกว่าเรื่องดี เมื่อเรื่องร้ายๆ ถูกบันทึกที่ศูนย์ควบคุมอารมณ์ในสมองจึงทำให้เราคอยนึกว่าคนอื่นๆ มักจะทำไม่ดีกับเรา แล้วก็เอามาต่อว่ากัน ทะเลาะกัน”
คำกล่าวด้านบนเป็นของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ที่สะท้อนให้เราเห็นว่า ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ทั้งเรื่องร้ายและดีย่อมผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกท่านสามารถทำได้คือ การเลือกคิดถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาให้มากกว่าเรื่องร้ายๆ โดยเริ่มฝึกสังเกตตัวเองว่า ในแต่ละวันเรามักจะนั่งนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีอยู่บ่อยๆ หรือไม่ ซึ่งเมื่อไรที่รู้ตัวว่ากำลังคิดลบอยู่ ควรรีบหยุดความคิดนั้น เพื่อให้สมองได้บันทึกเรื่องราวดีๆ ลงไป
ดังใจความตอนหนึ่งจากหนังสือเรื่อง สงบ เขียนโดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ที่บอกไว้ว่า “เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่จิตจิตจะทำหน้าที่แก้ของเขาเอง…เมื่อเขาแก้แล้ว ผิดหรือถูกเราอย่าไปสำคัญมั่นหมาย…แม้บางทีจิตอาจเถียงกัน เราเพียงแต่ฟังมันเท่านั้น อย่าเอามาเป็นอารมณ์” แล้วเราจะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเก็บมาเครียดค่ะ
วัยผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงวัย, คนแก่, คนสูงวัย
การรู้จักปล่อยวาง นึกถึงแต่เรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ช่วยคลายความเครียดในวัยสูงอายุได้
Balanced mind Tip
“หลักการดูแลจิตใจของตัวเองคือ ต้องไม่เครียดซึ่งการที่จะไม่เครียดได้นั้นต้องอาศัยหลักธรรมมาช่วย ปกติถ้ามีเวลาจะชอบการไปปฏิบัติธรรมมากแต่ถ้าไม่มีเวลาจะฟังธรรมะทางวิทยุหรืออ่านหนังสือธรรมะ
“โดยส่วนตัวคิดว่าธรรมะสอนเราได้ดีในเรื่องการปล่อยวาง เพราะเมื่อก่อนเคยทำอาชีพค้าขายเป็นเจ้าของร้านเฟอร์นิเจอร์ ในวันหนึ่งๆ เราต้องพบเจอคนเยอะ ยิ่งเจอคนมาก คำพูดที่มาเข้าหูเราก็ยิ่งมาก จึงมีบ้างที่เราเก็บคำบางคำกลับไปคิด แต่ธรรมะสอนให้เรารู้จักปลดปล่อยบางอย่างที่ไม่สำคัญออกไปจากความคิดบ้าง ซึ่งเมื่อเราปล่อยวางได้ เราก็จะไม่มีความเครียด”
คุณรุ่งทิพย์ แซ่จิว อายุ 62 ปี แม่บ้าน
ทำกิจกรรมที่ชอบ
หนังสือเรื่อง เข้าใจ…โลก สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ มีใจความตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า
“ค่านิยมการรีไทร์หรือเกษียณอายุของชาวตะวันออกและตะวันตกช่างแตกต่างกันมาก เพราะสำหรับชาวตะวันออก คนที่เกษียณจะมีความหดหู่จากการหมดอำนาจบารมี คนล้อมหน้าล้อมหลังหายไป หลายคนจึงรู้สึกกลัวว่าตัวเองจะไร้คุณค่า
“แต่สำหรับชาวตะวันตก คนที่เกษียณมีความยินดีและตื่นเต้นว่าชีวิตหลังจากนี้เขาจะได้ทำอะไรที่ยังไม่ได้ทำ มีเวลาทำสิ่งที่ตัวเองรักและใฝ่ฝัน และหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองได้อย่างอิสระ เพราะไม่มีคำว่าแก่เกินไปสำหรับการเรียนรู้”
เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ผู้สูงอายุจึงควรมองโลกในแง่ดีว่ ชีวิตในช่วงนี้ก็คล้ายกับช่วงเวลาปิดเทอมในวัยเด็ก ซึ่งเป็นเวลาที่เราจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และมีเวลาทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ
ดังนั้น หากใครรู้สึกเบื่อหรือเหงา อาจหากิจกรรมที่เป็นประโยชน์มาทำเพื่อฆ่าเวลา เช่น งานเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร ร้องเพลง หรืออาจเข้าร่วมชมรมต่างๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เจอเพื่อนใหม่ในวัยเดียวกัน
วิธีนี้จะช่วยบำบัดความเครียดและทำให้เราได้ดึงความสามารถของตนออกมาใช้ ซึ่งจะช่วยให้คนสูงวัยรู้สึกภูมิใจในตนเองมากขึ้นค่ะ
วัยเกษียณ, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงวัย, วัยผู้สูงอายุ, คนสูงอายุ
ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในวัยเกษียณอายุ เปิดโอกาสในการเจอเพื่อนใหม่วัยเดียวกัน
Balanced mind Tip
“หลังจากเกษียณอายุราชการมา ดิฉันก็เริ่มออกไปทำงานเพื่อสังคม โดยปัจจุบันนี้เป็นจิตอาสาที่คอยให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่ชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลวชิระเพราะตัวเองก็เป็นเบาหวานเช่นเดียวกัน
“การได้ทำงานตรงนี้ทำให้เรารู้สึกภูมิใจ เพราะว่าเราอยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่ได้อะไร อีกทั้งเคยทำอาชีพข้าราชการด้วย จึงคิดว่าเราควรทำอะไรเพื่อตอบแทนสังคมบ้าง ทุกวันนี้จึงมีความสุขกับการทำงานจิตอาสามาก และยังถือเป็นการทำบุญด้วย”
คุณอรปรียา สรรพตานนท์ อายุ 73 ปี ข้าราชการบำนาญ
ออกกำลังสมอง
วิธีนี้แนะนำโดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทิกา ทิวชาชาติ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคุณหมอบอกว่า การออกกำลังสมอง หรือ “นิวโรบิกส์เอกเซอร์ไซส์ (Neurobics Exercise) คือการฝึกให้สมองส่วนต่างๆ ทำงานเชื่อมโยงกันได้ดีขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยฝึกความจำ สมาธิ การรับรู้ รวมทั้งอารมณ์และยังถือเป็นการชะลอความเสื่อมของร่างกายอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างการออกกำลังสมองได้แก่ การหยิบสิ่งของด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด เพื่อให้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาได้ใช้งานทั้งสองข้าง การปิดไฟแล้วใช้มือคลำหาสิ่งของ เพื่อกระตุ้นประสาทด้านการสัมผัส หรือวิธีง่ายๆ อย่างการอ่านหนังสือ ก็ถือเป็นตัวช่วยในการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้สมองได้ค่ะ
ออกกำลังสมอง, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงวัย, คนสูงอายุ, คนสูงวัย
ออกกำลังสมอง ช่วยให้มีระบบความจำดี และมีสมาธิมากขึ้น
Balanced mind Tip
“เมื่ออายุเพิ่มขึ้น รู้เลยว่าทักษะความจำไม่แล่นเหมือนตอนสาวๆ ด้วยเหตุนี้จึงต้องพยายามฝึกใช้สมองอยู่ตลอด ซึ่งส่วนใหญ่วิธีที่ทำเป็นประจำคือการฝึกบวกลบเลข
“อย่างเวลาไปซื้อของที่ตลาดก็พยายามคำนวณราคาเอง โดยไม่ต้องให้แม่ค้าเขากดเครื่องคิดเลข เมื่อทำแบบนี้บ่อยๆ เราจะรู้สึกได้เลยว่าสมองคิดไวขึ้นไวถึงขนาดคิดเลขแข่งกับลูกกับหลานได้เลยละ”
คุณพาณี จิรานุจรรยงค์ อายุ 82 ปี แม่บ้าน
นอกจากการมีอายุยืนยาวแล้ว ต้องมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ไปพร้อมๆ กันด้วย ถึงจะคว้าตำแหน่งคนสูงวัยที่มีความสุขอย่างแท้จริงค่ะ
จาก คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 354
เว็บเกมส์ออนไลน์ UFABET369 เล่นเกมยิงปลาปั่นสล็อตได้เงินจริง
เราเป็นเว็บเกมส์อันดับ 1 ในเอเชีย UFABET ฝากถอนไวสุด ไม่โกง
เกมคาสิโนยอดนิยม บาคาร่า | ยิงปลา | สล็อต| เสือมังกร |ไฮโล | ป๊อกเด้ง
|