ซีรีส์จากเกาหลีใต้อย่าง ‘Juvenile Justice’ หรือ ‘หญิงเหล็กศาลเยาวชน ซีรีส์กระแสแรงที่กำลังติดอันดับหนึ่งอยู่ในตอนนี้และกระแสก็กำลังมาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ ‘ฮงจงชัน’ (Hong Jong-Chan) ที่เคยมีผลงานกำกับซีรีส์มาหลายต่อหลายเรื่อง คราวนี้ เขาขอหยิบมุมมองเกี่ยวกับกฏหมาย โดยเฉพาะแง่มุมที่แทบไม่มีใครเคยหยิบจับมาก่อนอย่าง ‘กระบวนการยุติธรรมคดีเยาวชน’ มาเล่าผ่านซีรีส์เรื่องนี้ ผ่านมุมมองการเขียนบทของ ‘คิมมินซอก’
ซีรีส์โดยรวมเล่าด้วยพล็อตแบบ ‘Courtroom Drama’ หรือเรื่องราวเกี่ยวกับการพิจารณาคดีความในชั้นศาลนั่นแหละนะครับ แต่ที่พิเศษและแตกต่างออกไปนั่นก็คือ เป็นซีรีส์ที่เจาะจงเล่าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีเยาวชนโดยเฉพาะ เพราะตามหลักกฏหมายแล้ว เยาวชนที่อายุไม่เกิน 14 ปี
จะต้องถูกตัดสินคดีตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชน ซึ่งจะมีโทษสูงสุดคือ คุมประพฤติระดับ 10 จนกระทั่ง ‘ชิมอึนซอก’ (Kim Hye-soo) ผู้พิพากษาสาวผู้เย็นชาเพราะแอบซ่อนอดีตขมขื่นไว้เบื้องหลัง ได้ย้ายเข้ามาทำงานเป็นผู้พิพากษาคนใหม่ของ ‘ศาลแขวงแผนกคดีอาญาเด็กและเยาวชนเขตยอนฮวา’
Review ซีรีส์ : “หญิงเหล็กศาลเยาวชน
สิ่งแรกที่ผู้เขียนประทับใจโดยรวม ๆ ของทั้ง 10 ตอน และถือว่าเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของซีรีส์เรื่องนี้เลยก็คือ การเดินเรื่องที่กระชับฉับไวครับ แม้ว่าตัวซีรีส์เองจะมีทั้งหมด 10 ตอน เฉลี่ยตอนละประมาณ 1 ชั่วโมงนิด ๆ แล้วแถมในซีรีส์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับกฏหมาย และกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับด้านของการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน ซึ่งมีความซับซ้อนและเฉพาะด้านมาก ๆ ตามสไตล์พล็อตแบบ Courtroom Drama นั่นแหละ แต่ตัวซีรีส์สามารถปูเรื่อง เดินเรื่อง ดึงหาจุดไคลแม็กซ์ที่อยู่ในแต่ละตอน และขมวดสรุปจบได้อย่างกระชับ ไม่ยอมทิ้งให้คนดูรู้สึกเนือยหนืด
หลายตอนยังสามารถหยิบยกมาเป็นบทสนทนากับเพื่อน ๆ ได้ด้วยว่า “รู้เท่าไม่ถึงการ” ยังใช้ได้ผลในสังคมยุคใหม่จริงหรือ? ถ้าอาชญากรเด็กเหล่านั้นต่างก็รู้สึกตัวดี มีเจตนา และบางคนถึงกับมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองทำ หนำซ้ำยังกลับไปทำผิดรูปแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
|