การตั้งราคาซื้อขายสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดราคา 2 ประเภท คือ การตั้งราคาสินค้าจากต้นทุนบวกกำไร (Cost Plus) และการตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ ๆ (Reference Price) ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง ซึ่งวิธีการหลังนี้จะใช้กับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำตาล ผัก ผลไม้ ฯลฯ ที่มีตลาดกลาง และมีการซื้อขายกันอย่างเสรี
สำหรับการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของไทยได้ใช้เกณฑ์อ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ซื้อขายกันในตลาด โลกซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ลักษณะเดียวกับการซื้อขายสินค้าอื่นๆ ตัวอย่างที่ได้ชัดในประเทศไทย เช่น การอ้างอิงราคาซื้อขายดอกไม้ ที่ปากคลองตลาด ราคาผลไม้ที่ตลาดไทย หรือการอ้างอิงราคาข้าวที่ท่าข้าวกำนันทรง เป็นต้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศ ขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลข ราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อ - ขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกล นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกประมาณ 325 บริษัท มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกันกับตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาที่ตกลงจะสะท้อน จากดีมานด์และซัพพลายของน้ำมันในภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ดัง นั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย นอกจากนั้น ราคายังเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก
เว็บพนันบอล ไม่ผ่านเอเย่นต์
|